เส้นเลือดขอดข้อเท้า

เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังที่ขยายตัวบวมออกมา และมีเลือดมาสะสมมากจนเห็นเป็นเส้นเลือดสีฟ้าหรือม่วงเข้ม เส้นเลือดขอดมักเป็นที่ขาหรือเส้นเลือดขอดข้อเท้า เนื่องจากการยืนเป็นเวลานานจะส่งผลให้เลือดที่ร่างกายส่วนล่างไหลย้อนกลับไปที่หัวใจได้ยากขึ้น

สาเหตุการเกิดหลอดเลือดขอด

  • หลอดเลือดขอดพบได้ในผู้ที่มีเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเชื้อชาติเอเชีย ซึ่งอาจมีส่วนสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทาน
  • หลอดเลือดขอดพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักตัวสูงเกินค่ามาตรฐาน
  • หลอดเลือดขอดพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • หญิงที่ตั้งครรภ์
  • อายุที่มากขึ้น จะพบหลอดเลือดขอดได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวมีโอกาสเกิดหลอดเลือดขอด
  • กลุ่มอาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหลอดเลือดขอด

อาการของเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดที่ขาหรือที่ข้อเท้ามักเริ่มปรากฏที่น่องเป็นบริเวณแรก โดยที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ เมื่อสังเกตดูจะเห็นเส้นเลือดโป่งพองนูนออกและขดไปมา บางรายอาจรู้สึกเมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ขาและเท้าบวม หรือเป็นตะคริวในตอนกลางคืน
เส้นเลือดขอดที่ขาหรือที่ข้อเท้าที่เป็นอยู่นานอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมา ส่วนมากจะเป็นการอักเสบของตัวเส้นเลือดขอดเอง นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดขาอุดตันได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเส้นเลือดขอด

  • หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเกิดการแตกของเส้นเลือดขอดที่อยู่ชิดผิวหนัง ทำให้มีแผลโดยตรงบนผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดออกเป็นจำนวนมากจากหลอดเลือดโดยตรง
  • หลอดเลือดที่ขอดเกิดการอักเสบและอุดตัน
  • หากเกิดอุบัติเหตุแล้วเส้นเลือดขอดฉีกขาดจะเสียเลือดมาก
การวินิจตรวจวินิจฉัยโรค

การตรวจวินิจฉัยโรคเส้นเลือดขอดโดยทั่วไป ได้แก่

  • แพทย์จะทำการซักประวัติ
  • แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย
  • แพทย์จะทำการตรวจด้วย ultrasound ชนิดพิเศษสำหรับหลอดเลือด (Duplex Ultrasound) ซึ่งต้องทำเพื่อประเมินหาสาเหตุแอบแฝง มิฉะนั้นจะกลับมาเป็นอีกหลังการรักษา

เส้นเลือดขอดข้อเท้า รักษายังไง

การรักษาเส้นเลือดขอด
  • การใส่ถุงน่องทางการแพทย์ หรือ ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด

เป็นวิธีการที่เจ็บตัวน้อยที่สุด และรักษาได้จริง ถุงน่องเส้นเลือดขอดจะทำหน้าที่ในการบีบรัดบริเวณขาเวลาที่เราเดินหรือยืน

  • การทานยาเพื่อบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด

เป็นยาในกลุ่มไดออสมินและเฮสเพอริดิน เป็นตัวยาที่จะยับยั้งกระบวนการอักเสบให้ลดลง และช่วยให้ลิ้นในหลอดเลือดดำ กลับมาเป็นปกติ

  • การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอด

การรักษาด้วยวิธีการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำนี้เหมาะกับ เส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร และเส้นเลือดยังไม่มีการนูน บวมหรือคดเคี้ยว หลังจากฉีดสารแล้ว ควรสวมใส่ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด ในการบีบรัด เพื่อให้ยาที่ฉีดเข้าไปได้ผลดี

วิธีนี้เป็นการรักษาที่ไม่ขาดหาย ในระยะยาวอาจกลับมาเป็นซ้ำอีก และอาจมีผลข้างเคียงตามมาด้วย เช่น อาจมีอาการปวด บวมแดง มีเลือดออก หรือรอยคล้ำ ตามแนวเส้นเลือดที่ฉีด

  • การรักษาโดยการผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดโดยการดึงเอาเส้นเลือดที่ขอด ออกไปตลอดทั้งเส้น การทำแบบนี้คือการป้องกัน การกลับมาเป็นซ้ำอีก การรักษาโดยวิธีนี้ สำหรับคนที่เป็นขั้นรุนแรง เส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่และยาวมาก

  • การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยการเลเซอร์

การเลเซอร์รักษาโรคเส้นเลือดขอด คือการใช้เครื่องเลเซอร์ วิธีนี้เป็นการรักษาที่ไม่เกิดบาดแผล มีความปลอดภัยและรวดเร็ว และเจ็บตัวน้อยที่สุด คนที่มีเส้นเลือดขอด ขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร วิธีนี้จำเป็นต้องทำหลายครั้ง
ในทุก ๆ 6 – 12 สัปดาห์ และต้องทำต่อเนื่องไปนานหลายปี จนเส้นเลือดขอดหายไปจริง ๆ

  • การรักษาเส้นเลือดขอดโดยคลื่นความถี่วิทยุ

วิธีนี้จะใช้การเจาะผ่านรูเข็มขนาดเล็ก แล้วใส่ไปในขดลวดขนาดเล็ก โดยคลื่นตัวนี้จะไปทำให้ผนังเส้นเลือดดำฝ่อลง แต่หลังจากทำไปแล้ว ก็ต้องคอยสังเกตอาการอีกที เพราะอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุนี้ ไม่ทำให้เจ็บปวด ใช้เวลาไม่นาน ไม่มีผลกระทบกับชีวิตประจำวัน และหลังจากการรักษา ควรใส่ถุงน่องเส้นเลือดขอดร่วมด้วย

การดูแลและป้องกันตัวเองจากเส้นเลือดขอด

  • หลีกเลี่ยงบริเวณขา ไม่ให้สัมผัสกับความร้อน เช่น การอาบแดดนาน ๆ การแช่หรืออาบน้ำร้อน เพราะความร้อนก็จะทำให้หลอดเลือดขยาย เป็นเส้นเลือดขอดได้
  • หากต้องเดินหรือยืนเป็นเวลานาน โดยที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ ควรสวมถุงน่องที่ช่วยพยุง และกระชับกล้ามเนื้อบริเวณขา และควรสวมตั้งแต่เท้าจนถึงเหนือเข่า หรือจะเป็นแบบเต็มตัวไปเลยก็จะยิ่งดี
  • ไม่ควรยืนนิ่งอยู่กับที่หรือเดินเป็นเวลานาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หลอดเลือดมีความแข็งแรง เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง หรือ ขี่จักรยาน พยายามหลีกเลี่ยงกีฬารุนแรง เพราะอาจจะทำให้กล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดฉีกขาดได้
  • ยกเท้าสูง ประมาณ 12-15 เซนติเมตร หรือสูงกว่าระดับหัวใจ

บทสรุป

เส้นเลือดขอดข้อเท้า สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูง เมื่อมีอาการเส้นเลือดขอดท่านต้องขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยและประเมินการรักษาได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้หากไม่ทำการรักษาเมื่อมีอาการมากถึงขั้นรุนแรงอาจทำให้เส้นเลือดแตกได้

เส้นเลือดขอด

By รักษาเส้นเลือดขอด ความผิดปกติ ของลิ้นในเส้นเลือด

อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หากคุณเป็นเส้นเลือดขอด ต้องรีบ รักษาเส้นเลือดขอด ให้หายโดยเร็ว