เส้นเลือดขอดขา

เส้นเลือดขอดขา เป็นการขอดตัวของหลอดเลือดดำที่ขาส่วนที่อยู่ตื้นใต้ผิวหนัง มักเริ่มเป็นที่บริเวณน่องโดยไม่มีอาการใด ๆ เส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณ 0-5 มิลลิเมตร จะมีลักษณะเหมือนใยแมงมุม มักมีสีแดง สีเขียว หรือสีม่วง ส่วนเส้นเลือดขอดที่มีขนาดอยู่ระหว่าง 1-3 มิลลิเมตร มักมีลักษณะเป็นเส้นสีเขียวใต้ผิวหนัง จัดเป็นเส้นเลือดขอดในระยะเริ่มต้น

เส้นเลือดขอดที่ขา เกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอดขา อาจมาจากการเสื่อมประสิทธิภาพของลิ้น (Valve) ที่มีในหลอดเลือดดำของขา ทำให้การไหลเวียนของเลือดดำเสียไป เกิดการคั่งของเลือดดำในหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดดำยืด ขยายตัว ตัวโป่งพอง และขดไปมา

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอดที่ขา ได้แก่

  1. อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดโรคยิ่งสูงขึ้นจากการเสื่อมประสิทธิภาพของลิ้นในหลอดเลือดดำ
  2. เพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่าเพศชาย
  3. หญิงตั้งครรภ์
  4. น้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักมาก จะยิ่งมีโอกาสเป็นเส้นเลือดขอดที่ขา
  5. พันธุกรรม พบโรคได้สูงขึ้นในคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
  6. อาชีพ อาชีพที่ต้องยืนนาน ๆ หรือนั่งนาน ๆ ทั้งวัน
  7. ขาดการออกกำลังกาย จะส่งผลให้กล้ามเนื้อขาเสื่อมประสิทธิภาพ ซึ่งกล้ามเนื้อขาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพยุงหลอดเลือดดำขา ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดของขา
  8. เราจะป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดที่ขาได้อย่างไร
  9. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
  10. หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า กางเกง ถุงเท้า หรือถุงน่องที่รัดมาก ๆ เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
  11. ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน
  12. ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  13. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เส้นเลือดขอดขา รักษายังไง

ความรุนแรงของเส้นเลือดขอด มี 3 ระดับ

1.เส้นเลือดขอดแบบฝอย แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ (Spider Veins) ลักษณะเป็นแพแบบเส้นใยแมงมุม อยู่ตื้นมองเห็นคล้ายใยแมงมุม มีขนาดเล็กสีม่วง หรือแดง เป็นเส้นเลือดขอดที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด บางรายแทบไม่มีอาการเจ็บ ปวด หรือเมื่อยล้าบริเวณที่เป็น

2.เส้นเลือดขอดขนาดกลาง (Reticular veins) ลักษณะของเส้นเลือดจะโป่งพองออกมาไม่มาก แต่พอสังเกตเห็นได้

3.เส้นเลือดขอดโป่งพองขนาดใหญ่ (Varicose Veins) เกิดจากผนังเส้นเลือดบาง ทำให้เส้นเลือดพองและขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง ซึ่งสังเกตเห็นค่อนข้างชัด เพราะเส้นเลือดจะโป่งนูนออกมาเป็นขด ๆ ชัดเจน และมีอาการเมื่อยล้า เจ็บปวดบริเวณเส้นเลือดขอด ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นที่ต้องรักษา เพราะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาได้

อาการของเส้นเลือดขอดที่ขา มีอะไรบ้าง

เส้นเลือดขอดที่ขามักเริ่มปรากฏที่น่องเป็นบริเวณแรก โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ เมื่อสังเกตดูจะเห็นเส้นเลือดโป่งพองนูนออกและขดไปมา บางรายอาจรู้สึกเมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ขาและเท้าบวม หรือเป็นตะคริวในตอนกลางคืน

เส้นเลือดขอดที่ขาที่เป็นอยู่นานอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมา ส่วนมากจะเป็นการอักเสบของตัวเส้นเลือดขอดเอง นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดขาอุดตันได้

วิธีการรักษา

  1. เส้นเลือดขอดแบบฝอย รักษาโดยฉีดสารเคมีเข้าสู่เส้นเลือดดำ (Sclerotherapy) เพื่อให้เส้นเลือดฝ่อ และตีบลง
  2. เส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ รักษาด้วยการฉีดโฟม (Foam Sclerotherapy) เพราะโฟมมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขอดเกิดการอักเสบ จากนั้นร่างกายจะมีกลไกจัดการทำลายเส้นเลือดขอด และทำให้เส้นเลือดขอดค่อย ๆจางลงแล้วหายไป
  3. เส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ที่มีการรั่วของหลอดเลือด รักษาด้วยวิธีคลื่นวิทยุความถี่สูง Radio Frequency Ablation (RFA) ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที หลังการรักษาเส้นเลือดขอดจะยุบลงประมาณ 50% และอีกใน 6-8 สัปดาห์ จะยุบตัวลงอีก 90-100%

หลังจัดการเส้นเลือดขอด ควรปฏิบัติ

  1. งดยกของหนัก หรือยืนนาน ๆ เป็นเวลา 3-7 วัน
  2. ควรใส่ผ้ายืด หรือซัพพอร์ทในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อประคองกล้ามเนื้อและเส้นเลือดบริเวณนั้น ส่วนระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือด โดยเส้นเลือดเล็กฝอยให้ใส่ 1-3 วัน ส่วนเส้นเลือดขอดขนาดกลาง (ขนาดเท่าไส้ปากกา) ควรใส่อย่างน้อย 7 วัน ขึ้นไป
  3. ควรออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ยากระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. ควรพบแพทย์ตามนัดภายใน 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อแพทย์จะได้ติดตามผลการรักษา
เส้นเลือดขอด

By รักษาเส้นเลือดขอด ความผิดปกติ ของลิ้นในเส้นเลือด

อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หากคุณเป็นเส้นเลือดขอด ต้องรีบ รักษาเส้นเลือดขอด ให้หายโดยเร็ว