เส้นเลือดขอดอันตรายไหม

เส้นเลือดขอดอันตรายไหม เส้นเลือดขอด หมายถึง เส้นเลือดที่โป่งพอง มีความคดเคี้ยวผิดปกติ มีขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่เส้นเล็กขนาด 1 – 3 มิลลิเมตร จนถึงขนาดใหญ่หลายเซนติเมตร พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอดคือ ความอ้วน เพศหญิง จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น พันธุกรรม การทำงานที่มีการยืน และเดินนาน

หลายคนเข้าใจว่า เส้นเลือดขอดเป็นโรคธรรมดาที่ไม่เป็นอันตราย เพียงแค่ไม่สวยงามเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคเส้นเลือดขอดอาจก่อให้เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นสามารถป้องกันได้ เพียงได้รับการแนะนำ และการตรวจรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

โรคนี้เป็นโรคในกลุ่มโรคเลือดดำพร่องเรื้อรัง (Chronic venous Insufficiency) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการมีระดับความดันในเส้นเลือดดำที่ขาสูงกว่าปกติ โดยเริ่มจากเป็นเส้นเลือดขอดขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อมีความรุนแรงมากขึ้นจะก่อให้เกิดอาการบวมของข้อเท้าและการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
โดยเฉพาะบริเวณตาตุ่มด้านในของข้อเท้าเป็นสีดำคล้ำ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังมีลักษณะที่แข็งกว่าปกติ และสุดท้ายก่อให้เกิดแผลหลอดเลือดดำในที่สุด ซึ่งมีอาการปวด และก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก

ความรุนแรงของเส้นเลือดขอด มี 3 ระดับ คือ

  • เส้นเลือดขอดแบบฝอย แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ (Spider Veins) ลักษณะเป็นแพแบบเส้นใยแมงมุม อยู่ตื้นมองเห็นคล้ายใยแมงมุม มีขนาดเล็กสีม่วง หรือแดง เป็นเส้นเลือดขอดที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด บางรายแทบไม่มีอาการเจ็บ ปวด หรือเมื่อยล้าบริเวณที่เป็น
  • เส้นเลือดขอดขนาดกลาง (Reticular veins) ลักษณะของเส้นเลือดจะโป่งพองออกมาไม่มาก แต่พอสังเกตเห็นได้
  • เส้นเลือดขอดโป่งพองขนาดใหญ่ (Varicose Veins) เกิดจากผนังเส้นเลือดบาง ทำให้เส้นเลือดพองและขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง ซึ่งสังเกตเห็นค่อนข้างชัด และมีอาการเมื่อยล้า เจ็บปวดบริเวณเส้นเลือดขอด ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นที่ต้องรักษา

เส้นเลือดขอดอันตรายไหม ไปดูกันเลย

กลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นเส้นเลือดขอด

อาการเส้นเลือดขอด มักพบในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40 -50 ปี ผู้สูงอายุ คนอ้วน และหญิงมีครรภ์ ทั้งยังพบอีกว่า หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นเส้นเลือดขอดมาก่อน ก็มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าวในอนาคตมากกว่าคนทั่วไป และท่านอาจจะคิดว่าผู้ที่มีอายุน้อยไม่น่าจะเป็นเส้นเลือดขอดได้ ขอบอกเลยว่าท่านคิดผิด

ผู้ที่มีอายุน้อย ก็มีอัตราเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดขอดได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากว่าผู้มีอายุน้อยอาจจะมีอาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งนาน ๆ เช่น พนักงานต้อนรับ บริกรร้านอาหาร ทันตแพทย์ พนักงานในห้างสรรพสินค้า รวมทั้งพนักงานบริษัทที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเส้นเลือดขอด

แพทย์จะทำการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการทำ ultrasound เส้นเลือดดำที่ขา ในบางรายที่มีความจำเป็น เพื่อวินิจฉัยหาตำแหน่งเส้นเลือด หรือลิ้นของเส้นเลือดดำที่เสีย เพื่อใช้สำหรับวางแผนในการรักษาต่อไป การรักษาเส้นเลือดขอดมีหลายวิธี ได้แก่ การักษาเส้นเลือดขอดโดยการกดรัด การรักษาโดยการฉีดสารระคายเคือง และการรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้การรักษาวิธีใดนั้นขึ้นกับลักษณะของเส้นเลือดขอดนั้น ๆ

วิธีการรักษาเส้นเลือดขอด
  • การรักษาเส้นเลือดขอดโดยการกดรัด (Compressive therapy) เพื่อลดความดันของเส้นเลือดดำ ทำให้อาการที่เกิดจากเส้นเลือดขอดดีขึ้น ลดอาการบวม ทำให้แผลหลอดเลือดดำหายเร็วขึ้น วิธีการรัด มีหลายแบบทั้ง การรัดด้วยผ้ายางยืด หรือการใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด
  • การรักษาโดยการฉีดสารระคายเคือง (Sclerotherapy) ปัจจุบันใช้สารระคายเคืองแบบโฟม เป็นการฉีดสารระคายเคืองเข้าในเส้นเลือดขอด ใช้สำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก รวมถึงเส้นเลือดขอดฝอยขนาดเล็ก ได้ผลการรักษาที่ดี ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
  • การรักษาโดยการผ่าตัด (Varicose vein surgery) เป็นการรักษาโดยการผ่าตัด ใช้สำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่ หรือในผู้ป่วยที่พบว่ามีลิ้นเส้นเลือดดำที่เสียร่วมด้วย ซึ่งควรได้รับการแก้ไขเพื่อลดโอกาสการเป็นซ้ำในอนาคต หลังผ่าตัดจะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก

บทสรุป

เส้นเลือดขอดอันตรายไหม หากเกิดขึ้นในระดับที่มีความรุนแรงเส้นเลือดขอดโป่งพองขนาดใหญ่ จัดได้ว่าท่านต้องเตรียมเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากว่าในระดับนี้ถือว่าเข้าข่ายอันตรายต้องรีบรักษา หากไม่ได้เข้ารับการรักษาอาจทำให้เส้นเลือดแตกได้

เส้นเลือดขอด

By รักษาเส้นเลือดขอด ความผิดปกติ ของลิ้นในเส้นเลือด

อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หากคุณเป็นเส้นเลือดขอด ต้องรีบ รักษาเส้นเลือดขอด ให้หายโดยเร็ว