เส้นเลือดขอดเท้า

เส้นเลือดขอดเท้าเกิดจากความผิดปกติของลิ้นและผนังหลอดเลือดดำ ทั้งนี้ปกติเวลาที่เรายืน แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดเลือดในเส้นเลือด ให้ลงไปสู่สนามแม่เหล็กโลก ทำให้เลือดที่ขามีแรงดันในผนังเส้นเลือด มากกว่าเลือดที่อยู่ส่วนบนของร่างกาย หากมีการอุดตันของลิ้นในหลอดเลือดดำ หรือมีการอักเสบที่ผนังหลอดเลือดดำร่วมด้วย ก็จะยิ่งทำให้เลือดคั่งอยู่ใน หลอดเลือดส่วนปลาย จึงทำให้ผนังหลอดเลือดดำที่ชั้นใต้ผิวหนัง เกิดการขยายตัวแบบผิดปกติ กลายเป็นเส้นเลือดขอดตามมา

ใครคือกลุ่มเสี่ยง

อาการเส้นเลือดขอดเท้า มักพบในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40 -50 ปี ผู้สูงอายุ คนอ้วน และหญิงมีครรภ์ ทั้งยังพบอีกว่า หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นเส้นเลือดขอดมาก่อน ก็มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าวในอนาคตมากกว่าคนทั่วไป

ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุน้อย ก็มีอัตราเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดขอดได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งนาน ๆ เช่น พนักงานต้อนรับ บริกรร้านอาหาร ทันตแพทย์ พนักงานในห้างสรรพสินค้า รวมทั้งพนักงานบริษัทที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดขอด

1.การทำงานโดยต้องยืน เดิน นาน ๆ เช่น พนักงานขายสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสาร

2.จากกรรมพันธุ์ มีประวัติครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด

3.อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะเป็นหลอดเลือดขอดเพิ่มขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง

4.ฮอร์โมนเพศ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย

5.การมีน้ำหนักมากเกินไป คนที่น้ำหนักมากเลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขามากขึ้น ทำให้เกิดหลอดเลือดขอดได้มาก

6.จากการกระทบกระแทก หรือกดทับ เช่น ไขว่ห้าง ทำให้เลือดเดินไม่สะดวก

7.การใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี

บทความแนะนำ รักษาเส้นเลือดขอด จาก Rattinan.com

เส้นเลือดขอดเท้า รักษายังไง

การรักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ผ่าตัด

ส่วนใหญ่แพทย์แนะนำเพื่อบรรเทาอาการปวด บวมมากกว่าเรื่องของความสวยงามซึ่งในกรณีที่เป็นเส้นเลือดขอดไม่มาก สามารถใช้ครีมนวดรักษาหรือบรรเทาได้ แต่กรณีที่มีอาการปวด แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำที่ขอด เพื่อสลายหลอดเลือดที่แข็งตัวและตีบตันให้ไหลเวียนไปสู่หลอดเลือดอื่นบริเวณรอบ ๆ ได้ แต่ก็ไม่ใช่วิธีรักษาที่หายขาดภายในครั้งเดียวอาจต้องฉีดซ้ำหลายครั้งหากเป็นมาก และไม่อาจรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก โดยหลังการรักษาจำเป็นต้องสวมผ้ารัดหรือถุงน่องเพื่อบีบให้ผนังหลอดเลือดกระชับ จนกว่าบริเวณที่ฉีดยาจะบวมน้อยลง และเวลานอนพักต้องใช้หมอนหนุนยกระดับเข่าให้สูงกว่าสะโพก และปลายเท้าสูงกว่าระดับเข่า

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเส้นเลือดขอด

ประกอบไปด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการทำอัลตราซาวนด์เส้นเลือดดำที่ขา ในบางรายที่มีความจำเป็น เพื่อวินิจฉัยหาตำแหน่งเส้นเลือด หรือลิ้นของเส้นเลือดดำที่เสีย เพื่อใช้สำหรับวางแผนในการรักษาต่อไป การรักษาเส้นเลือดขอดมีหลายวิธี ได้แก่ การักษาเส้นเลือดขอดโดยการกดรัด การรักษาโดยการฉีดสารระคายเคือง และการรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้การรักษาวิธีใดนั้นขึ้นกับลักษณะของเส้นเลือดขอดนั้น ๆ

การรักษาเส้นเลือดขอดแบบผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดในกรณีที่เส้นเลือดขอดเกิดภาวะอุดตันภายในหลอดเลือด และอาจส่งผลอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ โดยแพทย์จะให้ยาชาก่อนการผ่าตัดและใช้เครื่องมือเข้าไปผูกเส้นเลือดที่ขอดแล้วดึงหลอดเลือดดำที่ขอดออกเป็นบางส่วน หรือการผ่าดึงหลอดเลือดดำที่ขอดทั้งเส้น โดยหลังการผ่าตัดจะมีอาการเท้าบวม มีเลือดออกหรือเจ็บแผล และจำเป็นต้องใส่ผ้ารัดหรือถุงน่องพยุงต่อประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์

การรักษาเส้นเลือดขอดไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม ไม่สามารถรับประกันว่าจะไม่เกิดเส้นเลือดขอดใหม่ 100% และแพทย์อาจให้การรักษามากกว่า 1 วิธีร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาให้ได้ผลดีมากที่สุด ทั้งนี้หากยังต้องยืนหรือนั่งด้วยอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ ผู้ป่วยก็มีโอกาสกลับมาเป็นเส้นเลือดขอดได้อีก

หลังจัดการเส้นเลือดขอด ควรปฏิบัติ

  1. งดยกของหนัก หรือยืนนาน ๆ เป็นเวลา 3-7 วัน
  2. ควรใส่ผ้ายืด หรือซัพพอร์ทในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อประคองกล้ามเนื้อและเส้นเลือดบริเวณนั้น ส่วนระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือด โดยเส้นเลือดเล็กฝอยให้ใส่ 1-3 วัน ส่วนเส้นเลือดขอดขนาดกลาง (ขนาดเท่าไส้ปากกา) ควรใส่อย่างน้อย 7 วัน ขึ้นไป
  3. ควรออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ยากระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. ควรพบแพทย์ตามนัดภายใน 2 – 4 สัปดาห์ เพื่อแพทย์จะได้ติดตามผลการรักษา
เส้นเลือดขอด

By รักษาเส้นเลือดขอด ความผิดปกติ ของลิ้นในเส้นเลือด

อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หากคุณเป็นเส้นเลือดขอด ต้องรีบ รักษาเส้นเลือดขอด ให้หายโดยเร็ว