เส้นเลือดขอดยา

หลายท่านกำลังประสบปัญหาการเป็นโรคเส้นเลือดขอด ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก จึงต้องเสียเวลาไปกับการรักษาเพื่อต้องการให้หายจากการเป็นเส้นเลือดขอดเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะสามารถรักษาได้หลายวิธี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เส้นเลือดขอดยา เป็นอีกวิธีที่สามารถรักษาอาการเส้นเลือดขอดได้ดีเลยทีเดียว เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยเช่นกัน

รักษาเส้นเลือดขอด

วิธีการรักษาเส้นเลือดขอดยา จะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะพิจารณาตามความเหมาะสม ได้แก่

  1. การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment) ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ใช้ถุงน่องชนิดพิเศษที่มีระดับความแน่น (Pressure Gradient) แตกต่างกันไล่ระดับจากเท้าที่แน่นที่สุดและลดหลั่นลงเมื่อสูงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลกลับจากส่วนปลายขึ้นมาได้ดี
  2. การฉีดสารเคมีที่เส้นเลือดขอด (Sclerosing Therapy) ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยใช้เวลา 15 – 30 นาทีที่แผนกผู้ป่วยนอก ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  3. การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency) โดยใช้หลักการรักษาด้วยการใส่สายขนาดเล็กใส่เข้าไปในหลอดเลือดดำแล้วอาศัยพลังงานจากเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุความถี่สูงที่ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อไป โดยต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาทำ งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนทำ ใช้ระยะเวลาในห้องผ่าตัดเล็กประมาณ 30 – 45 นาที หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร หลังทำการรักษาแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์
  4. การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาผ่าตัด งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ และแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์

เส้นเลือดขอดยา รักษายังไง

ยารักษาโรคเส้นเลือดขอด

ยารับประทานบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด มีการวิจัยออกมาว่า การรับประทานยาในกลุ่มไดออสมิน (Diosmin) และเฮสเพอริดิน (Hesperidin) จะทำหน้าที่ยับยั้งกระบวนการอักเสบให้ลดลงและทำให้ลิ้นในเส้นเลือดกลับมาเป็นปกติได้ โดยเฉพาะในเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็ก ๆ ดังนั้น ถ้ารักษาตั้งแต่ระยะแรกยานี้ก็อาจช่วยรักษาให้หายได้ แต่ถ้ามารักษาตอนระยะที่เป็นเส้นเลือดขอดรุนแรงแล้วจะต้องมีการรักษาอื่น ๆ เสริมนอกจากการใช้ยาดังกล่าวที่จะให้เพื่อยับยั้งการเป็นมากขึ้นด้วย เช่น การฉีดยา หรือการใช้คลื่นวิทยุทำลายเส้นเลือดขอดเหล่านั้น ส่วนครีมหรือยาทาเพื่อรักษาเส้นเลือดขอดนั้นยังไม่มีงานวิจัยในมนุษย์ว่าได้ผลเป็นที่ชัดเจน เพียงแต่จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้เท่านั้น จึงไม่ขอแนะนำ

บทความแนะนำ “ดูดไขมัน” โดยแพทย์สอนดูดไขมัน By Rattinan.com

การป้องกันเส้นเลือดขอด

แม้เราจะไม่สามารถป้องกันเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดฝอยที่ขาได้อย่าง 100% แต่ก็สามารถลดการเกิดเส้นเลือดขอดใหม่และป้องกันมิให้เส้นเลือดขอดที่เป็นอยู่ใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญ คือ

  1. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ให้เปลี่ยนเท้าที่ยืนบ่อย ๆ (หากต้องนั่งนานให้ลุกขึ้นเดินทุก ๆ 30 นาที หรือยกเท้าให้สูงทุกครั้งที่มีโอกาส) ส่วนการนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
  2. ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดี และลดการเกิดเส้นเลือดขอดได้
  3. ควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  4. ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น โดยเฉพาะกางที่ฟิตและรัดบริเวณขาหนีบและเอว
  5. ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน
  6. หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดและสวมเครื่องป้องกันแสงแดด โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยได้
  7. ลดการรับประทานอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม และรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอด

ผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอดส่วนใหญ่มักไม่มีการพัฒนาต่อไปเป็นภาวะแทรกซ้อน หากมีก็อาจใช้เวลาหลายปี ซึ่งเส้นเลือดขอดที่เป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดลดลงนี้สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาดังนี้

1. มีเลือดออก เส้นเลือดขอดที่อยู่ใกล้ผิวหนังอาจทำให้มีเลือดออกหากเกิดการกระทบที่แผล ซึ่งเลือดที่ออกมานี้ยังอาจหยุดไหลได้ยาก วิธีรักษาเบื้องต้นควรนอนลงแล้วยกขาขึ้น จากนั้นกดแผลไว้ให้เลือดหยุดไหล และหากเลือดยังคงไหลอย่างต่อเนื่องให้รีบไปพบแพทย์ทันที

2. มีลิ่มเลือด กรณีที่เกิดลิ่มเลือดแถวหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังมาก ๆ อาจนำไปสู่การอักเสบของผนังหลอดเลือดดำจนมีอาการเจ็บ ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือรู้สึกร้อน สามารถรักษาได้ด้วยการใส่ถุงน่องรัดเช่นเดียวกับการรักษาเส้นเลือดขอด และบางครั้งแพทย์อาจให้รับประทานยาลดอาการบวมอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

3. การมีลิ่มเลือดยังอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดขาอุดตัน โดยผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดใกล้ผิวหนังถึง 20 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถพัฒนาไปสู่ภาวะนี้ และเกิดความรู้สึกเจ็บ บวมที่ขา หรืออาจกลายไปเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

4. หลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง ประสิทธิภาพการไหลของเลือดที่ลดลงสามารถส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน สารอาหาร และการขับของเสียผ่านผิวหนัง ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้หลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง จนเกิดภาวะอื่น ๆ เช่น โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่ขาส่วนล่าง ผิวหนังหนาตัว มีสีเข้มขึ้น และเกิดแผลอักเสบที่ขาตามมาได้ ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติบนผิวหนังเหล่านี้ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ให้เร็วที่สุด

เส้นเลือดขอด

By รักษาเส้นเลือดขอด ความผิดปกติ ของลิ้นในเส้นเลือด

อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หากคุณเป็นเส้นเลือดขอด ต้องรีบ รักษาเส้นเลือดขอด ให้หายโดยเร็ว