เส้นเลือดขอดปวดขา

ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด เริ่มแรกมักพบสัญญาณความผิดปกติของร่างกาย ที่ส่งผลให้มีความผิดปกติเส้นเลือดขอดปวดขา โดยสังเกตเส้นเลือดผ่านผิวหนัง โดยเห็นเส้นเลือดคดเคี้ยวและนูนออกมา และมีสีม่วงและสีเขียวบริเวณขา แล้วมีอาการปวดขาร่วมด้วย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเส้นเลือดขอด จึงต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสุขภาพ และศึกษาหารายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลในการดูแลตนเอง เพื่อให้อาการเส้นเลือดขอดมีอาการดีขึ้น หากพบว่ามีอาการรุนแรงเพิ่มมากจากเดิม ควรพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ดีต่อไป

เส้นเลือดขอดที่ขา คืออะไร

เส้นเลือดขอดที่ขา คือ การขอดตัวของหลอดเลือดดำที่ขา บริเวณใต้ผิวหนัง มักเริ่มเป็นบริเวณน่อง เส้นเลือดขอดมีขนาดเล็ก มีลักษณะเหมือนใยแมงมุม มีสีแดง สีเขียว และสีม่วง จัดเป็นเส้นเลือดขอดในระยะเริ่มต้น

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดขอด

  1. อาชีพการทำงานโดยต้องยืน เดิน นาน ๆ เช่น พนักงานขายสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสาร เสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดขอดปวดขาได้
  2. จากกรรมพันธุ์ มีประวัติครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด
  3. อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะเป็นหลอดเลือดขอดเพิ่มขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง
  4. ฮอร์โมนเพศ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผลของฮอร์โมนเพศหญิงโดยตรง
  5. การมีน้ำหนักมากเกินไป คนที่น้ำหนักมากเลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขามากขึ้น ทำให้เกิดหลอดเลือดขอดได้มาก
  6. จากการกระทบกระแทก หรือกดทับ เช่น ไขว่ห้าง ทำให้เลือดเดินไม่สะดวก
  7. การใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี

บทความแนะนำ ตัด ไขมัน หน้า ท้อง จากเว็บไซต์ Rattinan.com

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดขอด

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจร่างกาย  ตรวจดูขาขณะยืนเพื่อดูอาการบวม รวมทั้งสอบถามอาการว่าเจ็บบริเวณใดบ้าง จากนั้นอาจทำอัลตราซาวด์โดยใช้หัวตรวจเคลื่อนไปบนบริเวณดังกล่าวเพื่อดูลักษณะการไหลของเลือดในเส้นเลือด รวมทั้งหาร่องรอยการสะสมของลิ่มเลือดที่อาจเป็นสาเหตุของการบวมและเจ็บ นอกจากนี้ บางครั้งการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือด (Angiogram) ก็เป็นอีกวิธีที่แพทย์อาจนำมาประเมินการเกิดเส้นเลือดขอดให้แน่ชัดยิ่งขึ้น โดยจะฉีดสารทึบรังสีชนิดพิเศษเข้าไปในขาและเอกซเรย์ดูบริเวณดังกล่าว ภาพเอกซเรย์ที่ปรากฏจะเห็นเป็นสารทึบรังสีเพื่อให้แพทย์มองเห็นการไหลเวียนของเลือดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นการตรวจเพื่อช่วยยืนยันว่าอาการเจ็บและบวมที่เกิดขึ้นที่ขาเป็นอาการจากเส้นเลือดขอด ไม่ได้เกิดจากลิ่มเลือดหรือสิ่งอุดตันใด ๆ

เส้นเลือดขอดปวดขา รักษายังไง

อาการเส้นเลือดขอด

การที่เลือดที่ถูกใช้แล้วไม่สามารถกลับไปที่หัวใจและกลับไปฟอกที่ปอดได้ จะทำให้เลือดที่ยังไม่ได้ฟอกคั่งค้างตามหลอดเลือด ของเสียที่ค้างอยู่จะเริ่มเกาะที่หลอดเลือดดำ ทำให้หลอดเลือดแข็งและเริ่มคดเคี้ยว ทำให้มีอาการคัน ปวดขา ปวดตามหลอดเลือด และหากเป็นมากหลอดเลือดจะแตก เลือดเสียจะรั่วออกจากเส้นเลือดขึ้นมาที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีเลือดดำมาคั่ง เกิดอาการอักเสบและกลายเป็นแผลในที่สุด

เส้นเลือดขอดอาจเกิดที่เส้นเลือดฝอย ซึ่งจะมองเห็นเหมือนใยแมงมุม หรือ รากผักชีขนาดเล็ก ๆ มองเห็นได้ง่ายบนชั้นผิวหนัง  หากเกิดภาวะเส้นเลือดขอดที่หลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมักอยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนัง การรักษาจะใช้เวลานาน และรักษาได้ยากกว่าเส้นเลือดขอดที่หลอดเลือดฝอย

การรักษาเส้นเลือดขอด

  1. การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือ คลื่นวิทยุความถี่สูง (RF) วิธีนี้ใช้เพียงยาชาและเปิดแผลเล็ก ๆ 1-2 ขนาดรูเข็ม สามารถรักษาเส้นเลือดขอดถึงต้นตอภายใน เส้นเลือดขอดก็จะยุบหายได้ ทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย
  2. การฉีดโฟมเข้าเส้นเลือดขอด โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ (Catheter-directed Foam Sclerotherapy) เป็นการฉีดโฟมเข้าภายในเส้นเลือดไปปิดการทำงานของหลอดเลือดดำที่โป่งพอง ร่วมกับการอัลตราซาวด์เพื่อช่วยระบุตำแหน่ง (ไม่มีการใช้ X-Ray)
  3. การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด โดยผ่านสายสวน (Mechanochemical Ablation, MOCA) โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในเส้นเลือดผ่านสายสวน โดยมีระบบปั่นภายในเพื่อปิดเส้นเลือดและช่วยกระจายยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา วิธีนี้จะมีแผลขนาดเล็กจุดเดียว และหลังการรักษาสามารถกลับบ้านได้เลย
  4. การใช้สารยึดติดทางการแพทย์ (กาว) รักษาเส้นเลือดขอด (Cyanoacrylate Glue) เป็นการรักษาโดยการใช้สารยึดติดทางการแพทย์ทำให้ผนังหลอดเลือดยึดติดกัน เพื่อปิดหลอดเลือดดำที่มีปัญหา เป็นการเปิดแผลเล็ก ๆ เพียงจุดเดียว ไม่ก่อให้เกิดแผลฟกช้ำ ไม่ต้องพักฟื้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ทันที
  5. การผ่าตัด แบ่งได้เป็น 2 วิธี ได้แก่
  • การผ่าตัดลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) วิธีนี้จะใช้การบล็อกหลังหรือดมยาสลบ เพื่อทำการผูกและตัดหลอดเลือดดำที่โป่งพองออก หลังทำต้องนอนพัก รพ. 1- 2 คืน และพักต่อที่บ้านประมาณ 7-14 วัน
  • การเจาะเอาเส้นเลือดขอดที่ตื้น ๆ ออก (Phlebectomy) เป็นการใช้เครื่องมือพิเศษดูดเจาะเส้นเลือดขอดที่โป่งนูนออก โดยการให้ยาชาและเปิดแผลเล็ก ๆ ด้วยเครื่องมือพิเศษ ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องตัดไหม ทำเสร็จกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่ รพ.
เส้นเลือดขอด

By รักษาเส้นเลือดขอด ความผิดปกติ ของลิ้นในเส้นเลือด

อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หากคุณเป็นเส้นเลือดขอด ต้องรีบ รักษาเส้นเลือดขอด ให้หายโดยเร็ว