การทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือด้วยอาชีพต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดขอดได้ เช่นการยืน การนั่งหรือการเดินเป็นเวลานาน ที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ ต้องควรศึกษาหาวิธีในการป้องกันและรักษา เส้นเลือดขอดคือ เพื่อนเป็นข้อมูลในการปฏิบัติตัวเพื่อให้อาการบรรเทาได้หรือไม่พบการเกิดเส้นเลือดขอด ถือเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก
เส้นเลือดขอดคือ
เส้นเลือดขอด คืออาการที่ผนังของหลอดเลือดดำใต้ชั้นผิวหนังโป่งพอง เนื่องจากมีเลือดคั่งค้างอยู่ในหลอดเลือด มองเห็นได้จากภายนอกว่า มีการขดหรือขมวดของหลอดเลือดเป็นสีม่วงคล้ำ คลำพบว่าเป็นเส้นเลือดโป่งนูนขึ้น บางครั้งอาจมีอาการปวดร่วมด้วยหรือเป็นเส้นเลือดฝอยแตก คล้ายแผนที่หรือใยแมงมุม เกิดจากเลือดจากส่วนปลายขา ไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้าสู่ระบบการสูบฉีดของหัวใจได้อย่างรวดเร็วตามปกติ ซึ่งเส้นเลือดดำนี้จะมีลิ้นปิดเปิด เพื่อกักเลือดไม่ให้ไหลย้อนลงข้างล่างตามแรงโน้มถ่วง เมื่อลิ้นอ่อนแอ เลือดก็จะย้อนมารวมกันที่เส้นเลือดด้านล่าง ทำให้เกิดอาการบวมขึ้น
- เกิดจากความผิดปกติของลิ้นในหลอดเลือดดำ
- เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดดำ
- กรรมพันธุ์
- การนั่ง หรือยืนนาน ๆ
- หญิงตั้งครรภ์ คนอ้วน
- อายุที่มากขึ้น
- การผ่าตัดบริเวณสะโพก
- การใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี
การวินิจฉัยเส้นเลือดขอด
แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกายโดยตรวจดูขาขณะยืนเพื่อสังเกตอาการบวม รวมทั้งสอบถามว่ามีอาการเจ็บใด ๆ ที่ขาหรือไม่ จากนั้นอาจทำอัลตร้าซาวด์โดยใช้หัวตรวจเคลื่อนไปบนบริเวณดังกล่าวเพื่อดูลักษณะการไหลของเลือดในเส้นเลือด รวมทั้งหาร่องรอยการสะสมของลิ่มเลือดที่อาจเป็นสาเหตุของการบวมและเจ็บดังกล่าว นอกจากนี้ บางครั้งการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือด (Angiogram) ก็เป็นอีกวิธีที่แพทย์อาจนำมาประเมินการเกิดเส้นเลือดขอดให้แน่ชัดยิ่งขึ้น โดยจะฉีดสารทึบรังสีชนิดพิเศษเข้าไปในขาและเอกซเรย์ดูบริเวณดังกล่าว ภาพเอกซเรย์ที่ปรากฏจะเห็นเป็นสารทึบรังสีเพื่อให้แพทย์มองเห็นการไหลเวียนของเลือดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้การตรวจด้วยการอัลตราซาวด์และเอกซเรย์หลอดเลือดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการตรวจเพื่อช่วยยืนยันว่าอาการเจ็บและบวมที่เกิดขึ้นที่ขาเป็นอาการจากเส้นเลือดขอด ไม่ได้เกิดจากลิ่มเลือดหรือสิ่งอุดตันใด ๆ
บทความแนะนำ การฉีดฟิลเลอร์ จาก Rattinan.com
อาการของเส้นเลือดขอด
- ปวดขา ปวดหนัก ๆและเป็นตะคริว
- ขาบวม มีจ้ำเลือดข้อเท้า
- เส้นเลือดขอดบวมขึ้น แดงร้อน และกดเจ็บ
- ผิวหนังบริเวณเท้า หน้าแข้ง ข้อเท้าหนาตัวละมีสีคล้ำ
- มีแผลหรือผื่นบริเวณข้อเท้า
การรักษาเส้นเลือดขอด
- การฉีดยาเข้าไปในหลอดเลือดดำที่ขอด
เป็นการรักษาที่ได้ผลทั้งหลอดเลือดขอดและหลอดเลือดฝอยใยแมงมุม เพียง 2-3 สัปดาห์หลอดเลือดที่โป่งพองก็จะยุบและจางหายไป
- การรักษาโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ RFA (Radio frequency ablation)
เป็นการใช้เลเซอร์หรือคลื่นความถี่สูง ในการรักษา ควบคู่กับการใช้สายสวนสอดเข้าไปและทำให้เกิดความร้อนโดยคลื่นความถี่วิทยุ พลังงานความร้อนจะทำให้เส้นเลือดที่มีปัญหาหดตัว ซึ่งใช้เวลารักษาประมาณ 30-60 นาที แผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
- การรักษาโดยการผ่าตัด (Venous stripping)
เป็นการรักษาแบบดั้งเดิม โดยใช้รูปแบบของการผ่าตัด การรักษาผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก (3-4 เซนติเมตร) ที่บริเวณขาหนีบการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที จากนั้นอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 1 วัน การผ่าตัด แม้ว่าจะได้รับความนิยมน้อยลงมากในปัจจุบัน แต่หากยังมีความจำเป็นในผู้ป่วยบางรายที่มีหลอดเลือดขอดขนาดใหญ่ (10-20 เซนติเมตร) หรืออยู่ในตำแหน่งที่ตื้นชิดกับผิวหนังมาก ๆ ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการใช้การรักษาโดยการใช้เลเซอร์ หรือคลื่นความถี่สูง
ภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอด
ผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอดส่วนใหญ่มักไม่มีการพัฒนาต่อไปเป็นภาวะแทรกซ้อน หากมีก็อาจใช้เวลาหลายปี ซึ่งเส้นเลือดขอดที่เป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือดลดลงนี้สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาดังนี้
- มีเลือดออก เส้นเลือดขอดที่อยู่ใกล้ผิวหนังอาจทำให้มีเลือดออกหากเกิดการกระทบที่แผล ซึ่งเลือดที่ออกมานี้ยังอาจหยุดไหลได้ยาก วิธีรักษาเบื้องต้นควรนอนลงแล้วยกขาขึ้น จากนั้นกดแแผลไว้ให้เลือดหยุดไหล และหากเลือดยังคงไหลอย่างต่อเนื่องให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- มีลิ่มเลือด กรณีที่เกิดลิ่มเลือดแถวหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังมาก ๆ อาจนำไปสู่การอักเสบของผนังหลอดเลือดดำจนมีอาการเจ็บ ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือรู้สึกร้อน สามารถรักษาได้ด้วยการใส่ถุงน่องรัดเช่นเดียวกับการรักษาเส้นเลือดขอด และบางครั้งแพทย์อาจให้รับประทานยาลดอาการบวมอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน