เส้นเลือดขอดเกิดจาก

โรคเส้นเลือดขอด เป็นโรคที่สามารถพบได้มากในปัจจุบัน ด้วยสภาพการทำงานและการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ จึงต้องให้ความสำคัญในการทำอย่างไรที่จะห่างไกลจากโรคเส้นเลือดได้ ถือเป็นการป้องกันให้ห่างไกลจากโรคเส้นเลือดขอดได้เป็นอย่างดี

สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดเกิดจาก ผนังหลอดเลือดและลิ้นควบคุมการไหลของเลือดที่อ่อนแอ ภายในลิ้นจะมีลิ้นเล็ก ๆ คอยเปิดให้เลือดไหลผ่าน และปิดเพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ไปสู่ส่วนล่างของร่างกาย  ผนังเลือดอาจขยายตัวออกจนสูญเสียความยืดหยุ่นจนทำให้ลิ้นที่คอยเปิดปิดเกิดการอ่อนแอลง เมื่อทำงานผิดปกติ จึงทำให้เลือดรั่วออกมาและไหลย้อนกลับเข้าไปที่ส่วนล่วงของร่างกาย ส่งผลให้เลือดสะสมที่หลอดเลือดและเกิดอาการบวม พองตามมา และอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

  1. เพศหญิง

เส้นเลือดขอดสามารถพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจมีสาเหตุจากฮอร์โมนเพศหญิงที่ไปทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวลง ส่งผงให้มีโอกาสเกิดอาการรั่วของลิ้นหลอดเลือดได้

  1. พันธุกรรม

เส้นเลือดขอดเกิด บุคคลในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดขอดได้ง่าย

  1. อายุมาก

อายุที่เพิ่มขึ้น หลอดเลือดก็เริ่มที่จะหลวมและหย่อนตัวลง เป็นสาเหตุให้ลิ้นหลอดเลือดทำงานได้ประสิทธิภาพที่ลดลง

  1. มีน้ำหนักมาก

น้ำหนักตัวจะทำให้เกิดแรงดันบนหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้เกิดแรงดันที่ลิ้นหลอดเลือดสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการรั่วของเลือดยิ่งขึ้น

  1. อาชีพ

มีอาชีพที่ต้องยืนเป็นเวลานาน จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอด เพราะเลือดจะไหลได้ยากขึ้นเมื่อยืนเป็นเวลานาน

  1. หญิงตั้งครรภ์

ในระหว่างตั้งครรภ์ ปริมาณของเลือดในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก แต่จะนำไปสู่การตึงของหลอดเลือด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นยังสามารถทำให้ผนังกล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดทำงานบกพร่องได้เช่นกัน

เส้นเลือดขอดเกิดจาก อะไร ไปดูกัน

อาการของเส้นเลือดขอดที่ขา มีอะไรบ้าง

เส้นเลือดขอดที่ขามักเริ่มปรากฏที่น่องเป็นบริเวณแรก โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการใด ๆ เมื่อสังเกตดูจะเห็นเส้นเลือดโป่งพองนูนออกและขดไปมา บางรายอาจรู้สึกเมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ขาและเท้าบวม หรือเป็นตะคริวในตอนกลางคืน

เส้นเลือดขอดที่ขาที่เป็นอยู่นานอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมา ส่วนมากจะเป็นการอักเสบของตัวเส้นเลือดขอดเอง นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดขาอุดตันได้

บทความแนะนำ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก จาก Rattinan.com

รักษาเส้นเลือดขอด

การรักษาเส้นเลือดขอด แพทย์จะวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาตามความเหมาะสมดังนี้

  1. การรักษาแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก แนะนำให้ใช้ถุงน่องชนิดพิเศษที่มีระดับความหนาแน่น ที่แตกต่างกัน เพื่อให้การไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น
  2. การฉีดสารเคมีที่เส้นเลือดขอด (Sclerosing Therapy) ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยใช้เวลา 15 – 30 นาทีที่แผนกผู้ป่วยนอก ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  3. การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency) โดยใช้หลักการรักษาด้วยการใส่สายขนาดเล็กใส่เข้าไปในหลอดเลือดดำแล้วอาศัยพลังงานจากเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุความถี่สูงที่ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อไป
  4. การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาผ่าตัด งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ และแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์

การป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด

  1. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
  2. หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า กางเกง ถุงเท้า หรือถุงน่องที่รัดมาก ๆ เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
  3. ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน
  4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  5. ออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขาดีขึ้น
  6. บริหารข้อเท้าขณะนั่ง โดยเหยียดปลายเท้าและกระดกปลายเท้าสลับกันตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด
เส้นเลือดขอด

By รักษาเส้นเลือดขอด ความผิดปกติ ของลิ้นในเส้นเลือด

อย่าปล่อยให้เรื้อรัง หากคุณเป็นเส้นเลือดขอด ต้องรีบ รักษาเส้นเลือดขอด ให้หายโดยเร็ว